การรับน้ำหนักของสกรูน็อตแข็งและสกรูน็อตกิโล

60915 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การรับน้ำหนักของสกรูน็อตแข็งและสกรูน็อตกิโล

การรับน้ำหนักของสกรูน็อตแข็ง

         สกรูน็อตหัวหกเหลี่ยมที่เป็นเกรด (High Tensile Bolts and Nuts) ที่ในท้องตลาดเมืองไทยมีด้วยกันสามเกรด

- เกรด สกรูน็อต 8.8 เป็นสกรูน็อตที่ผลิตมาจากวัตถุดิบ Carbon Steel คือ เหล็กแข็งเกรด S45C
เป็นเหล็กเกรดที่มีความแข็งปานกลาง ใช้ได้ดีในงานทั่วไป โดยเฉพาะงาน ก่อสร้างต่างๆ
- เกรด สกรูน็อต เกรด 10.9 และ เกรด 12.9 เป็นสกรูน็อตที่มีสเปคความแข็งและการรับแรงเพิ่มขึ้นจากสกรูเกรด 8.8 เป็นสกรูที่ผลิตจากเหล็กกล้าผสม (Alloy Steel) เกรดวัตถุดิบที่ใช้เป็นเกรดเหล็ก SCM440 บางที่เราจะเรียก ว่าเป็นเหล็กกล้าผสม หรือเหล็กอัลลอย เป็นต้น

ขออธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ก่อน

  • Yield Load หมายถึง แรงสูงสุดก่อนที่จะทำให้วัตถุที่แรงนั้นไปกระทำจะเปลี่ยนรูปไป ไม่กลับมาเหมือนเดิมอีกเช่น เวลาดึงเหล็กเพลา จนถึงจุดที่มันเริ่มยืดออก จุดนั้นคือ จุดที่เป็น Yield Load หรือ Yield Strength
  • Ultimate Load หมายถึง แรงดึงต่ำสุดที่ทำให้วัตถุขาดหรือแตกสลายไป เช่น แรงดึงที่เราดึงเหล็ก ถ้าเหล็กเริ่มยึดก็เป็น Yield Load ถ้าเราเพิ่มแรงดึงขึ้นอีกจนเหล็กขาดนี้จึงเป็นแรงดึงสุงสุด หรือ Ultimate load
  • Working Load หมายถึง แรงที่เราเอามาใช้งานใช้ในการคำนวน การรับแรงของสกรูน็อตแข็งพวกนี้เราจะใช้ เพียง 25% ของ Yield Load คือใช้เพียงหนึ่งในสี่ (1/4) ของแรงดึงที่ได้รับ เพื่อป้องกันข้อบกพร่องต่างๆในการทำงาน เช่น สกรูน็อตในการผลิตแต่ละครั้งสเปค อาจไม่เท่ากันแต่ละครั้ง ทั้งวัตถุดิบ การชุบแข็ง สกรูที่มีเกลียวครึ่งเดียวกับสกรูที่มีเกลียวตลอด ก็ได้ผลการรับแรงที่ต่างกัน การขันหัวน็อต/การใช้แรงขันหัวน็อตให้แน่นไม่เท่ากันก็มีผลในการรับแรงของสกรู ความยาวของสกรูตัวผู้ก็มีส่วนให้การรับแรงลดลงได้

 

เพื่อความปลอดภัยในการทำงานและการใช้งาน เราจึงใช้ตัวเลขเพียงหนึ่งในสี่ของค่าที่วัดได้เอามาคำนวนการใช้งาน
ตารางการรับน้ำหนักของสกรูน็อตแข็ง


การรับน้ำหนักของสกรูน็อตกิโล
น็อตกิโลเป็นสกรูน็อตที่ผลิตจากวัตถุดิบ เกรดเหล็ก Low Carbon Steel เกรดเหล็กคาร์บอนต่ำ คือมีคาร์บอนผสมอยู่น้อยกว่า 0.25% จะเป็นเหล็กเกรด 1006 ,1010 ,1016 ,1018

เป็นเกรดความแข็ง 4.6 4.8 ปกติน็อตกิโล จะมีลักษณะเป็นเกลียวตลอดและจะผลิตโดยไม่ชุบอะไร จึงต่างกับสกรูมิลขาวที่ชุบซิงค์ขาว ส่วน ขนาดหัวสกรู และขนาดหัวน็อต จะมีขนาดใหญ่กว่าสกรูเกลียวมิล

Tensile Strength 60,000-80,000 pai หรือ 410-550 Mpa การคำนวนหาค่าของการรับน้ำหนักนั้น เราคำนวน จากค่า Tensile Strength ซึ่งเป็นการคำนวนแบบประมาณการเท่านั้น ไม่ได้มีการทดสอบการรับน้ำหนักจริง จึงไม่อาจจะใช้ในทางวิชาการ

แต่ข้อมูลทางเราได้ใช้ค่าเซฟตี้แฟกเตอร์สูงสุดถึง 25% เพื่อลดข้อผิดพลาด เนื่องจากข้อมูลที่ใช้คำนวนเป็นของต่างประเทศ แต่วัตถุดิบและกรรมวิธีการผลิตในเมืองไทย อาจจะไม่เหมือนต่างประเทศ ซึ่งอาจเกิดการผิดพลาดได้


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้