13710 จำนวนผู้เข้าชม |
รางลิ้นชักนี้เราจะติดตั้งไว้สำหรับติดลิ้นชักเพื่อให้ลิ้นชักดึงเข้าออกได้สะดวก และง่ายตัวรางลิ้นชัก
แบ่งออกได้เป็นรุ่นใหญ่ๆ ได้สองรุ่น คือ
รางลิ้นชัก เหล็ก ใส่ลูกล้อไนล่อน
เป็นรางลิ้นชักที่นิยมใช้มาเป็นเวลายาวนานมาก ซึ่งเดิมนั้น เราจะใช้รางลิ้นชักแบบรับข้างคือยึดลิ้นชักกับข้างลิ้นชักเลย แต่ตอนหลังก็มีการปรับเปลี่ยนให้ตัวลิ้นชัก ไปรับมุมล่างของตัวลิ้นชักและเราทำตัวรับน้ำหนักเป็นฉากยาวตลอด เพื่อรับน้ำหนักตัวลิ้นชักให้ดีขึ้น เพราะรางรับข้างนั้นเมื่อใช้ไปนานๆ แล้ว หรือเวลาลิ้นชักรับน้ำหนักมากขึ้นมันจะดึงให้สกรูที่ยึดรางคลายตัวทำให้เวลาเลื่อนลิ้นชัก ตัวลูกล้อก็จะไปชนกับหัวสกรู ทำให้สกรูคลายตัว ค่อยๆ เลื่อนหลุด รางรับข้างจึงมีคนนิยมใช้น้อยลง
รูปแบบของลิ้นชักในเมืองไทยมีหลายรูปแบบ หลายโมเดล แต่ที่นิยมใช้กันมาก คือรูปแบบของโมเดลบรัม และโมเดล เฟอรารี่ สมัยก่อนมีหลายโมเดลมากกว่านี้ แต่ก็เสื่อมความนิยมไป จุดหลักคือ โรงงานในเมืองจีน นิยมเปิดพิมพ์ เป็นสองโมเดลนี้ คนจะเอาโมเดลอื่นก็ไม่มี
และความหนาของรางลิ้นชัก ถ้าความหนาปกติ คือ ก่อนพ่นสี ก็หนา 1.0 มม. ถ้าพ่นสีแล้วก็หนา 1.2 มม. นี้เป็นความหนาปกติที่ได้มาตรฐาน แต่ก็มีโรงงานบางแห่งลดสเป็คความหนาลงมาคือ ก่อนพ่นสี จาก 1.0 มม. ก็ลดเป็น 0.6 มม. / 0.8 มม. เพื่อลดต้นทุน ซึ่งเวลาใช้ขนาดบางนี้จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้ เช่น รับน้ำหนักได้ลดลง และบางรุ่น เวลาปิด ตัวสต็อปเปอร์ไม่สามารถเบรคลูกล้อได้ จึงควรระวังถ้าเราใช้ลิ้นชักขนาดกว้าง น้ำหนักอาจจะเกินจนรางลิ้นชักรับน้ำหนักไม่ได้เกิดรางบิดงอ ทำให้เวลาใช้งานจะเกิดปัญหาได้ คือรางลิ้นชัก จะถอนออกจากตัวลิ้นชัก เพราะรับน้ำหนักไม่พอ
รางลูกปืนล้อไนล่อนนั้นเดิมเคยมีรุ่น สองตอน ที่สามารถดึงลิ้นชักออกมาได้ 100% แต่ตัวรางมีความหนามากเกินไป และราคาก็ค่อนข้างสูง เมื่อมีรางลูกปืนออกมาและมีราคาไม่แพง รางรุ่นนี้ก็เลยไม่มีคนนิยมในตอนหลัง รางลิ้นชักรุ่นนี้ก็จะมีอุปกรณ์เสริมเพื่อให้ตัวรางนั้น สามารถปิดนิ่มแบบ Soft Close ได้เหมือนกันแต่ก็ยังเป็นรางล้อไนล่อนที่เขาเอาไปปรับปรุง ตัดต่อเอาอุปกรณ์ Soft Close ใส่เข้าไป แต่ก็ยังไม่ค่อยนิยมมากนัก
รางลิ้นชักระบบลูกปืน
เป็นรางลิ้นชักระบบใหม่ที่เพิ่งเริ่มนิยมใช้มาแทนที่รางลิ้นชักล้อไนล่อน เพราะมีจุดเด่นหลายจุดที่เวลาติดตั้งแล้วรางจะวิ่งเงียบกว่ารางล้อไนล่อน และมีความเสถียรกว่า ไม่แกว่ง คือตัวลิ้นชักจะไม่คลอน หรือแกว่งไปมา ในตอนแรกนั้นยังไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากมีราคาแพงกว่ารางไนล่อนเยอะ ตอนหลังก็มีการปรับปรุงทั้งคุณภาพและต้นทุน ทำให้ราคาลดลงมาใกล้เคียงกับรางลูกล้อไนล่อน จึงได้รับความนิยมมากขึ้นเพราะมีหลายขนาดให้เลือกขึ้นกับงานและน้ำหนักที่จะต้องรับ มีตั้งแต่
ซึ่งรางรุ่นนี้มีทั้งแบบธรรมดา แบบเลื่อนไปมา แบบนิ่มนวล เบาและเงียบมาก แต่มีรุ่นที่เพิ่มออฟชั่นอีกสองรุ่น คือรุ่น แบบปิดนิ่ม เป็น Soft Close เวลาปิดจะปิดเองอย่างนิ่มและเงียบอีกแบบคือแบบกดกระเด้งเปิด คือจะไม่มีมือจับใช้วิธีกด ให้บานกระเด้งออกมาเองเป็นตัวเลือกที่เพิ่มความหรูของเฟอร์นิเจอร์ ให้ดูมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
ส่วนการรับน้ำหนักนั้น เนื่องจาก รางรุ่นนี้มีความหนาของเหล็กเป็นส่วนประกอบที่ทำให้รับคือเหล็กที่หนาเพียง 1.0 มม. / 1.2 มม. / 1.5 มม. เป็นต้น เพราะถ้าเหล็กหนากว่าราคาก็แพงกว่า และรับน้ำหนักได้มากกว่า เป็นต้น แต่รางที่รับน้ำหนักมากที่สุดคือรางด้านในรางที่เล็กที่สุด
ส่วนขนาดใหญ่กว่าเป็นแบบเฮฟวี่ดูตี้ นั้น จะมีตั้งแต่ขนาด 55 มม. ขนาด 70 มม. ขนาด 75 มม. ซึ่งจะเป็นขนาดเฉพาะงานที่ไม่เป็นที่นิยมแพร่หลาย แต่อย่างไร เพราะพวกนี้จะรับน้ำหนักได้สูงมากตั้งแต่ 50-100 กิโลกรัม
ขนาดของรางลูกปืน | การรับน้ำหนักของรางลูกปืน(ประมาณการ) |
17 มิล | 10 กิโลกรัม |
22มิล | 20 กิโลกรัม |
35 มิล | 25 กิโลกรัม |
35มิล (รุ่นสองตอน ) | 30 กิโลกรัม |
35มิล (รุ่นระบบสองตอนรางประกบกัน) | 45 กิโลกรัม |
45 มิล ผรุ่นสองตอน ) | 45 กิโลกรัม |
54 มิล | 60-125 กิโลกรัม |
70มิล | 170 กิโลกรัม |
75 มิล | 227 กิโลกรัม |
มีหลายขนาดความกว้าง และมีหลายความยาวให้เลือก เพราะการใช้งานนั้นมีความหลากหลาย ตั้งแต่งานด้านเฟอร์นิเจอร์ งานด้านอุตสาหกรรม งานด้านการตบแต่งร้านค้า หรือบ้านงานด้านการก่อสร้าง เพราะยุคนี้เป็นยุคของรางลูกปืน ที่มีความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ส่วนการติดตั้งนั้นจะต่างจากรางลิ้นชัก ล้อไนล่อน เพราะการให้ตัวของรางจะน้อยเพราะมันจะโดนลูกปืนบีบไม่ให้รางขยับ หรือสั่น เพื่อให้รางมีความเสถียร ไม่แกว่งไปมาเวลาเลื่อนลิ้นชักเขาจึงผลิตให้ให้ตรงจุดยึดมีความยึดหยุ่น เพิ่มขึ้นเพื่อช่วยเวลาตัวกล่องลิ้นชัก ด้านนอกกับด้านในขนาดไม่เท่ากัน ซึ่งจะทำให้เวลาเลื่อนรางจะฝืด จึงต้องปรับจุดยึดให้มีการให้ตัวได้มากขึ้น